.: VeNUs FM :.
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

.: VeNUs FM :.

โลกของคนชอบเพ้อ
 
บ้านPortalLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)
ค้นหา
 
 

Display results as :
 
Rechercher Advanced Search
Latest topics
» บอร์ดร้าง!!
พระราชกรณียกิจ ร5 EmptyThu Feb 10, 2011 6:18 pm by lollipop

» ขอเพลงนะ เย้เย้
พระราชกรณียกิจ ร5 EmptyThu Feb 10, 2011 6:10 pm by lollipop

»  THE TALES :by rosemarry
พระราชกรณียกิจ ร5 EmptySun Jan 02, 2011 8:06 pm by lollipop

» Christmas!!!!
พระราชกรณียกิจ ร5 EmptySun Jan 02, 2011 7:58 pm by lollipop

» แฉrosemarry
พระราชกรณียกิจ ร5 EmptySun Jan 02, 2011 7:48 pm by lollipop

» HAPPY NEW YEAR: )
พระราชกรณียกิจ ร5 EmptySun Jan 02, 2011 7:38 pm by lollipop

» ปล่อยมุขเสี่ยว+กลอนเสี่ยวได้ที่นี่
พระราชกรณียกิจ ร5 EmptyFri Dec 24, 2010 3:29 pm by RoseMarrY

» ภาพหน้าเว็บ
พระราชกรณียกิจ ร5 EmptyThu Nov 18, 2010 8:07 pm by lollipop

» พระราชกรณียกิจ ร5
พระราชกรณียกิจ ร5 EmptyThu Nov 18, 2010 7:51 pm by lollipop

Navigation
 Portal
 Index
 รายชื่อสมาชิก
 ข้อมูลส่วนตัว(Profile)
 ช่วยเหลือ
 ค้นหา
Forum
Affiliates
free forum


 

 พระราชกรณียกิจ ร5

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
RoseMarrY
level7
level7
RoseMarrY


จำนวนข้อความ : 62
Join date : 13/09/2010
Age : 28

พระราชกรณียกิจ ร5 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระราชกรณียกิจ ร5   พระราชกรณียกิจ ร5 EmptyThu Nov 18, 2010 7:17 pm

คือมันไม่ได้เป็น list อย่างเดียว หาได้แค่นี้ด้วย... ฝากปี๊น


พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
พระราชกรณียกิจด้านการเลิกทาส
พระราชกรณียกิจด้านการเลิกทาส ถือเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากผู้ที่เป็นทาสได้รับความเป็นอยู่ที่ลำบากยากแค้นและมีจำนวนมากถึง ๑ ใน ๓ ของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้นพระองค์จึงมีพระราชประสงค์ในการเลิกทาสให้สำเร็จจงได้ โดยทรงตราพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.๑๒๔ เพื่อปลดปล่อยทาสอย่างมีระเบียบแบบแผน
ตามกฎหมายโบราณ แยกทาสเอาไว้ทั้งหมด ๗ แบบ คือ
๑. ทาสสินไถ่ หมายถึง คนหรือคนที่นำลูกภรรยาของตนมาขายตัวเป็นทาส
๒. ทาสในเรือนเบี้ย หมายถึง ลูกของทาสที่เกิดในเรือนเจ้าเงิน
๓. ทาสได้มาแต่บิดามารดา หมายถึง ทาสที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบิดามารดา
๔ ทาสท่านให้ หมายถึง ทาสที่มีคนยกให้
๕. ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ หมายถึง ทาสที่นายเงินช่วยเหลือมาจากคดีความ
๖. ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย หมายถึงทาสที่นำตัวมาขายเพื่อแลกข้าว
๗. ทาสเชลยศึก หมายถึงทาสที่ได้มาจากการชนะสงครามภาพเลิกทาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่าทาสนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถือเป็นประเพณีแล้ว เจ้านายขุนนาง หรือเสนาบดีที่เป็นใหญ่มักมีทาสเป็นข้ารับใช้ที่ไม่อาจสร้างความเป็นไทแก่ตัว พระองค์จึงทรงใช้พระวิริยะอุตสาหะอย่างหนักในการทำให้ทาสหมดไปจากแผ่นดิน โดยมีพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชบริพารเกี่ยวกับวิธีที่จะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม
โดยขั้นแรกพระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาส กำหนดโทษผู้ซื้อและขายทาส รวมทั้งออกกฎหมายบังคับให้เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่มีทาสอยู่ในครอบครองปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ ซึ่งทรงใช้เวลานานกว่า ๓๐ ปี ในการที่ไม่ให้มีทาสหลงเหลืออยู่ในอาณาจักรไทย โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อเลย ซึ่งแตกต่างกับอีกหลายๆ ชาติ ที่เมื่อประกาศเลิกทาสก็เกิดการคัดค้าน และต่อต้านจนทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดขึ้น
พระราชกรณียกิจด้านการไปรษณีย์โทรเลข
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อไปในอนาคตโดยเริ่มจากการโทรเลข ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการก่อสร้างวางสายโทรเลขสำหรับสายโทรเลขสายแรกของประเทศเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.๒๔๑๘ จากกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ ระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร และได้วางสายใต้น้ำต่อยาวออกไปจนถึงประภาคารที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับบอกข่าวเรือเข้า – ออก ต่อมาได้วางสายโทรเลขขึ้นอีกสายหนึ่งจากกรุงเทพฯ – บางปะอิน และขยายไปทั่วถึงในเวลาต่อมา
สำหรับกิจการไปรษณีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๔ มีที่ทำการเรียกว่าไปรษณียาคาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๖ มีสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์พระองค์แรก ในโรงไปรษณียโทรเลขระยะแรกมีการรับฝากจดหมายหรือหนังสือเพียงในกรุงเทพฯ และธนบุรีเท่านั้น เมื่อกิจการดำเนินไปได้ ๒ ปี จึงมีการขยายออกไปยังจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดเขื่อนขันธ์ (ปัจจุบันคืออำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการ) และขยายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา เมื่อกิจการโทรเลข และไปรษณีย์ดำเนินการไปได้ด้วยดี ในปีพ.ศ.๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมโทรเลขรวมเข้ากับกรมไปรษณีย์ชื่อว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข

พระราชกรณียกิจด้านการโทรศัพท์
กิจการทั้งหลายอันสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่เริ่มจากสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึงกิจการโทรศัพท์ด้วย เนื่องจากมีพระวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล และพระปรีชาสามารถอย่างมากในการพัฒนาประเทศ โดยกระทรวงกลาโหมได้นำโทรศัพท์อันเป็นวิทยาการในการสื่อสารที่ทันสมัยเข้ามาทดลองใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ จากกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ เพื่อแจ้งข่าวเรือเข้า – ออกที่ปากน้ำ์ ต่อ มากรมโทรเลขได้มารับช่วงต่อในการวางสายโทรศัพท์ภายในกรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลา ๓ ปีจึงแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการกับประชาชน และพัฒนามาจนกระทั่งทุกวันนี้

พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง
เมื่อบ้านเมืองมีความเจริญเก้าวหน้าขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปลี่ยนแปลงแบบแผนการปกครองจากเดิมที่เป็นการบริหารจากเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วางระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ โดยแยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งในครั้งแรกนั้นทรงกำหนดกรมขึ้นมาใหม่ 6 กรม ได้แก่
๑. กรมพระคลัง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษีรายได้จากประชาชนและนำมาบริหารใช้งานด้านต่าง ๆ
๒. กรมยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่างๆ ทั้งคดีอาญาและคดีเพ่ง รวมถึงควบคุมดูแลศาลอาญา ศาลแพ่ง และศาลอุทธรณ์ทั่วทั้งแผ่นดิน
๓. กรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาการณ์ในกรมทหารบก ทหารเรือ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทหาร
๔. กรมธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ คือ หน้าที่สั่งสอนอบรมพระสงฆ์และสอนหนังสือให้กับประชาชนทั่วไป
๕. กรมโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง และงานเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง
๖. กรมมุรธาธิการ มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร พระราชกำหนดกฎหมาย และหนังสือที่เกี่ยวกับราชการทั้งหมด
รวมถึงกรมที่ตั้งอยู่ก่อนหน้านั้น 6 กรม รวมเป็น 12 กรม ได้แก่
๗. กรมมหาดไทย* มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเมืองลาวซึ่งเป็นเมืองประเทศราช
๘. กรมพระกลาโหม* มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันออก ตะวันตก และเมืองมลายู
(* การที่ให้กรมทั้งสองบังคับหัวเมืองคนละด้านนั้น เพื่อเป็นการง่ายต่อการควบคุมดูแลพื้นที่นั้น ๆ ให้ได้ผลเต็มที่)
๙. กรมท่า มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ
๑๐. กรมวัง มีหน้าที่ดูแลรักษาการณ์ต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง
๑๑. กรมเมือง มีหน้าที่ดูแลรักษากฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับผู้กระทำผิด กรมนี้มีตำรวจทำหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบ และจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ
๑๒. กรมนา มีหน้าที่คล้ายคลึงกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบันคือ มีหน้าที่หลักในการดูแลควบคุมการเพาะปลูก ค้าขาย และป่าไม้ เพราะเมืองไทยมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก
เมื่อกิจการกรมต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจแล้วในปี พ.ศ.๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประกาศในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๕ ให้ยกฐานะกรมขึ้นเป็นกระทรวง แต่ต่อมาทรงเห็นว่าบางกระทรวงมีหน้าที่ซ้ำซ้อนกันจึงยุบกระทรวงลง ๒ กระทรวง คือ กระทรวงมุรธาธิการยุบรวมกับกระทรวงวัง และกระทรวงยุทธนาธิการรวมกับกระทรวงกลาโหม คงเหลือ ๑๐ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงวัง, กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ, กระทรวงเกษตราธิการ, กระทรวงนครบาล, กระทรวงธรรมการ, กระทรวงยุติธรรม, กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงการต่างประเทศ
พระราชกรณียกิจด้านการพยาบาลและสาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลเพื่อรักษาประชาชนด้วยวิธีการแพทย์แผนใหม่ เนื่องจากการรักษาแบบเดิมนั้นล้าสมัย ไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงทีทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายเมื่อเกิดโรคระบาด พระองค์จึงทรงแต่งตั้งกรรมการขึ้นมา ๙ คนเพื่อดำเนินการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นบริเวณริมคลองบางกอกน้อย อันเป็นที่ตั้งของพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือวังหลังโดยได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์จำนวน ๑๖,๐๐๐ บาท เป็นทุนเริ่มแรกในการสร้างโรงพยาบาล ให้ใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลวังหลัง เปิดทำการรักษาแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑
ต่อมาพระองค์ได้พระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้ใหม่ว่าโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรสที่ประสูติในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ที่สิ้นพระชนมายุเพียง ๑ ปี ๗ เดือน ทั้งยังได้พระราชทานพระเมรุ พร้อมกับเครื่องใช้ เช่น เตียง เก้าอี้ ตู้โต๊ะ ฯลฯ ในงานพระศพให้กับโรงพยาบาลเพื่อใช้ประโยชน์ รวมทั้งพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ จำนวน ๕๖,๐๐๐ บาท ให้กับโรงพยาบาลเป็นทุนในการใช้จ่าย
พระราชกรณียกิจด้านการกฎหมาย
กฎหมายในขณะนั้นมีความล้าสมัยอย่างมาก เนื่องจากใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ และยังไม่เคยมีการชำระขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ทำให้ต่างชาติใช้เป็นข้ออ้างในการเอาเปรียบไทยเรื่องการทำสนธิสัญญาเกี่ยวกับการขึ้นศาลตัดสินคดีที่ไม่ให้ชาวต่างชาติขึ้นศาลไทย โดยตั้งศาลกงสุลพิจารณาคดีคนในบังคับต่างชาติเอง แม้ว่าจะมีคดีความกับชาวไทยก็ตาม ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯ สร้างประมวลกฎหมายอาญาขึ้นใหม่เพื่อให้ทันสมัยทัดเทียมกับอารยประเทศโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากต่างประเทศมาร่วมงานกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) พระราชโอรส ในฐานะองค์ประธานตรวจพระราชกำหนดพระอัยการทั้งเก่าและใหม่
ในปี พ.ศ.๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนกฎหมายแห่งแรกของประเทศไทย มีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นผู้อำนวยการ และพระอาจารย์สอนกฎหมายแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญที่ผลิตนักกฎหมายที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาประเทศ
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ตรากฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ อันเป็นลักษณะกฎหมายอาญาฉบับแรกที่นำขึ้นมาใช้ อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง พิจารณาทำกฎหมายประมวลอาญาแผ่นดินและการพาณิชย์ ประมวลกฎหมายว่าด้วยพิจารณาความแพ่ง และพระธรรมนูญแห่งศาลยุติธรรม แต่ยังไม่ทันสำเร็จดีก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน เมื่อสร้างประมวลกฎหมายขึ้นมาใช้แล้ว บทลงโทษแบบจารีตดั้งเดิมจึงถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิงในรัชกาลของพระองค์เอง เพราะมีกฎหมายใหม่เป็นบทลงโทษ ที่เป็นหลักการพิจารณาที่ดีและทันสมัยกว่าเดิมด้วย
พระราชกรณียกิจด้านการขนส่งและสื่อสาร

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้คณะเสนาบดีและกรมโยธาธิการสำรวจเส้นทาง เพื่อวางรากฐานการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ มีการวางแผนให้ทางรถไฟสายนี้ตัดเข้าเมืองใหญ่ๆ ในบริเวณภาคกลางของประเทศแล้วแยกเป็นชุมสายตัดเข้าสู่จังหวัดใหญ่ทางแถบภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นหัวลำโพงเมืองที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การสำรวจเส้นทางในการวางเส้นทางรถไฟนี้เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ และในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินขุดดินก่อพระฤกษ์ เพื่อสร้างทางรถไฟครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยโปรดเกล้า ฯ ให้ทางรถไฟสายนี้เป็นรถไฟหลวงแห่งแรกของไทย
พระราชกรณียกิจด้านการไฟฟ้า
ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่าไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก เมื่อมีโอกาสประพาสต่างประเทศ ได้ทอดพระเนตรกิจการไฟฟ้า และทรงเห็นถึงประโยชน์มหาศาลที่จะเกิดจากการมีไฟฟ้า พระองค์จึงทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนารถเป็นผู้ริเริ่มในการจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ซึ่งเป็นการเปิดใช้ไฟฟ้าครั้งแรกของไทย
พระราชกรณียกิจด้านการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำธนบัตรขึ้นเรียกว่า อัฐ เป็นกระดาษมีมูลค่าเท่ากับเหรียญทองแดง ๑ อัฐ แต่ใช้ได้เพียง ๑ ปีก็เลิกไป เพราะประชาชนไม่นิยมใช้ ต่อมาทรงตั้งกรมธนบัตรขึ้นมา เพื่อจัดทำเป็นตั๋วสัญญาขึ้นใช้แทนเงินกรมธนบัตรได้เริ่มใช้ตั๋วสัญญาเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๔๕ เป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้มีการผลิตธนบัตรรุ่นแรกออกมา ๕ ชนิด คือ ๑,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐ บาท ๕ บาท ภายหลังมีธนบัตรใบละ ๑ บาทออกมาด้วย รวมถึงพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดหน่วยเงินตรา โดยให้หน่วยทศนิยมเรียกว่า สตางค์ กำหนดให้ ๑๐๐ สตางค์ เท่ากับ ๑ บาท พร้อมกับผลิตเหรียญสตางค์ขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรกเรียกว่าเบี้ยสตางค์ มีอยู่ด้วยกัน ๔ ชนิด คือ ราคา ๒๐ สตางค์ ๑๐ สตางค์ ๔ สตางค์ ๒ สตางค์ครึ่ง ใช้ปนกับเหรียญสี้ยว และอัฐ
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกประกาศยกเลิกใช้เงินพดด้วงและทรงออกพระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ.๑๒๗ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ ว่าด้วยเรื่องให้ใช้แร่ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนแร่เงิน เพื่อให้เสถียรภาพเงินตราของไทยสอดคล้องกับหลักสากล และในปีต่อมาทรงออกประกาศเลิกใช้เหรียญเฟื้อง และเบี้ยทองแดง


พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในการศึกษารูปแบบใหม่โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาทั่วกัน เพราะการศึกษาสมัยนั้นส่วนใหญ่ยังศึกษาอยู่ในวัด เมื่อมีการสร้างโรงเรียนและการศึกษาเจริญก้าวหน้าขึ้นเท่ากับเป็นการบ่งบอกถึงความเจริญทางด้านวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนหลวงแห่งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยมีหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ สอนวิชาให้กับผู้เข้ารับราชการ จะได้มีความรู้ในการทำงาน สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกรู) เป็นผู้เขียนตำราเรียนขึ้นมาเรียกว่า แบบเรียนหลวง ๖ เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์
ตำราทั้ง ๖ เล่มนี้ พระยาศรีสนุทรโวหารเขียนขึ้นมาใน ปีพ.ศ.๒๔๒๗ และโปรดเกล้าฯ ให้มีการสอบไล่สามัญศึกษาขึ้นอีกด้วย เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงเรียนหลวงขึ้นอีกหลายแห่ง กระจัดกระจายไปตามวัดต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โรงเรียนหลวงแห่งแรกที่สร้างขึ้นในวัด คือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม โรงเรียนหลวงที่ตั้งขึ้นมานี้เพื่อให้บุตรหลานของประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้กัน การศึกษาขยายตัวเจริญขึ้นตามลำดับด้วยความสนใจของประชาชนที่ต้องการมีความรู้มากขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงเรียนเหล่านี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ มีการพิมพ์ตำราพระราชทาน เพื่อเป็นตำราในการเรียนการสอนด้วย
พระราชกรณียกิจด้านการเสด็จประพาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชื่นชอบการเสด็จประพาสเป็นยิ่งนัก พระองค์เสด็จประพาสทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง เพื่อเสด็จพระราชดำเนินดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่างๆ มากมาย การเสด็จประพาสบ่อยครั้งทำให้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งต่างๆ ทั้งที่ดีและเสด็จประพาสหัวเมืองไม่ดี สิ่งเหล่านี้พระองค์ได้นำไปพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น

ในขณะนั้นประเทศแถบอินโดจีนได้ถูกรุกรานจากประเทศมหาอำนาจทางตะวันตก เนื่องจากประเทศในแถบอินโดจีนเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา ทำให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้โดยง่าย รวมถึงประเทศไทยก็ต้องเผชิญกับสภาวะนี้เช่นกัน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมแกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จประพาสยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น อีกทั้งต้องการศึกษาวิทยาการต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงประเทศ และจากการเสด็จประพาสยุโรปของพระองค์ในครั้งนี้ก็ได้นำความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการมาสู่บ้านเมืองของเราอย่างมากมาย

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ.๒๔๔๐ ได้ส่งผลดีในการเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย ซึ่งการเสด็จฯ เยือนรัสเซียครั้งนั้นนับว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดของการเสด็จพระพาสยุโรปทั้งหมด พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงต้อนรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ อย่างสนิทสนมและสมพระเกียรติ มีบันทึกไว้ว่า “สมเด็จพระเจ้าเอมเปรอกรุงรัสเซีย ประทับสนทนาปราศรัยด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยเจ้านายฝ่ายสยามและฝ่ายรัสเซีย เป็นอย่างฉันพระญาติพระวงศ์อันเดียวกันอันสนิท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปลื้องเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรม ราชวงศ์ประดับเพชรซึ่งทรงสวมใส่อยู่นั้น ถวายสมเด็จพระเจ้าเอมเปรอกรุงรัสเซีย”
และถึงตอนที่จะเสด็จฯ ออกจากรัสเซียนั้น มีบันทึกไว้ว่า “ต่างพระองค์ทรงพระอาลัยที่จะจากกันไปนั้น และทรงกอดรัดและจุมพิตถวายคำนับแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่รถไฟพระที่นั่ง”
ข่าวการรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่รัสเซียในครั้งนั้นทำให้ราชสำนักต่าง ๆ ในยุโรปตระหนักถึงความสำคัญของประเทศไทย ทำให้เกิดความเกรงใจอยู่ไม่น้อย กล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับมหาอำนาจตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สะท้อนให้เห็นนโยบายของไทยที่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามและยอมเสียดินแดนส่วนน้อย เพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ทั้งนี้เพราะไทยเป็นประเทศเล็กที่มีกำลังน้อย ท่ามกลางประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกยึดครองไปจนหมด ไทยจึงไม่อาจต่อรองด้วยกำลังกับชาติมหาอำนาจ แต่จะต้องพยายามแก้ปัญหาโดยใช้ “กลยุทธ์ทางการทูต” ในการรักษาเอกราชของชาติไว้ เห็นได้ชัดจากความสัมพันธ์ที่เกิดจากมิตรไมตรีขององค์ประมุขของไทยและ รัสเซีย ได้ช่วยให้ไทยสามารถดำเนินนโยบายถ่วงดุลอำนาจกับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยไว้ตามแนวสันติวิธี
พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม
ในด้านวรรณกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกวีเอกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในแผ่นดินสยาม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้มากมาย พระราชนิพนธ์ของพระองค์ที่ได้รับความนิยม และใช้เป็นส่วนหนึ่งของแบบเรียน คือ
๑. ลิลิตนิทราชาคริต ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ โดยแต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ อาศัยเค้าโครงเรื่องจากนิทานอาหรับโบราณ งานพระราชนิพนธ์ชิ้นนี้ได้พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
๒. พระราชพิธีสิบสองเดือน ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๑ ลงพิมพ์เป็นตอนๆ ในหนังสือวชิรญาณ ใช้สำนวนร้อยแก้ว เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน
๓. บทละครเรื่องเงาะป่า ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ในขณะที่ทรงพระประชวรพระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นบทละครซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาจนทุกวันนี้
๔. ไกลบ้าน ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เป็นพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานพดล เมื่อครั้งที่เสด็จประพาสยุโรปในครั้งที่ ๒ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว โดยเรื่องราวส่วนใหญ่เป็นบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้มีโอกาสทอดพระเนตรในระหว่าง ๙ เดือนที่เสด็จประพาสยุโรป
๕. พระราชวิจารณ์ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว ลักษณะคล้ายๆ กับจดหมายเหตุ โดยมีพระราชประสงค์เพื่อพระราชทานเป็นความรู้แก่นักวิชาการที่ต้องการค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ในเรื่องราวต่างๆ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร เนื่องด้วยทรงพระชราภาพและทรงตรากตรำพระราชภารกิจมากมาย เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 รวมพระชนมายุ 58 พรรษา นับว่าเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ด้วยพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่เพียบพร้อมไปด้วยพระคุณธรรมและพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ มากมาย
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้านั้นเป็นช่วงเวลาที่แนวความคิดทางการเมือง การทหาร และวัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นสร้างความเจริญให้แก่ประเทศไทยของเราอย่างมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการเลิกทาส การสื่อสาร การปกครอง การสาธารณสุข การขนส่ง การศึกษาฯลฯ
พระองค์ทรงยอมรับความศิวิไลซ์ของประเทศตะวันตกและทรงใช้วิจารณญาณในการประยุกต์ผสมผสานเข้ากับสังคมไทยอย่างลงตัว โดยทรงยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักและด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาว่า พระปิยะมหาราช อันหมายถึงพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักนั่นเอง


แก้ไขล่าสุดโดย RoseMarrY เมื่อ Thu Nov 18, 2010 8:28 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
lollipop
level7
level7



จำนวนข้อความ : 66
Join date : 10/09/2010
Age : 27
ที่อยู่ : บ้านโกคุเดระ

พระราชกรณียกิจ ร5 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: พระราชกรณียกิจ ร5   พระราชกรณียกิจ ร5 EmptyThu Nov 18, 2010 7:51 pm

เจ๋งมากๆๆๆเราก็ทำเรื่องนี้ยังได้ได้หาเลย๕๕๕๕๕๕เดี๋ยวเราเอาไปก๊อบๆๆ
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
พระราชกรณียกิจ ร5
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
.: VeNUs FM :. :: .: หนังสือพิมพ์Venus :.-
ไปที่: